วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การศึกษาการใช้ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ตามทัศนะของครูผู้สอน.การพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำของคณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาลตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี, ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดฉะเชิงเทรา

Title
การศึกษาการใช้ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ตามทัศนะของครูผู้สอน
Title Alternative
A Study of Exercise of the Transformational Leadership Style of Primary School Administrators in Chaiyaphum as Perceived by Teachers

Classification :.DDC: 371.201
Description
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการใช้ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ ตามทัศนะของครูผู้สอน ใน 4 ด้าน คือ ด้านการสร้างบารมี ด้านการคำนึงถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา และด้านการสร้างแรงบันดาลใจ การเปรียบเทียบทัศนะของครูผู้สอนตามสถานภาพของผู้บริหารโรงเรียน ได้แก่ อายุ การเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหาร และประสบการณ์การบริหาร และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 528 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การหาค่าทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และทดสอบรายคู่ด้วยวิธีการ ของ Sheffe’ ผลการศึกษาพบว่า 1. ทัศนะของครูผู้สอน ที่มีต่อการใช้ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่อยู่ในระดับสูงคือด้านการสร้างบารมี 2. ทัศนะของครูผู้สอน ที่มีต่อการใช้ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนเปรียบเทียบตามอายุ การเข้าสู่ตำแหน่ง และประสบการณ์การบริหาร ของผู้บริหารโรงเรียน ไม่แตกต่างกันทั้งโดยรวม และรายด้าน 3. ทัศนะของครูผู้สอน ที่มีต่อการใช้ภาวะผู้นำแบบการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านคือด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this study were to study and compare the teachers’ perceived in the transformational leadership style of primary school administrators in Chaiyaphum in 4 aspects : charismatic individualized consideration intellectual stimulation and inspiration. The 528 samples used in this study were teachers. The tool used for collecting data was rating scale form. The data analysis were implemented by mean ( ), standard deviation (S.D.), independent sample test (t-test), one - way ANOVA and Sheffe’s method. The results of the study revealed as follows:- 1. In perceived of teachers the transformational leadership style of primary school administrators were at the medium level in total aspects. But charismatic was at high level. 2. In perceived of teachers the transformational leadership style of primary school administrators to compare with administrators’ age, a positional promotion and experience were not significantly different at the .05 level. 3. In perceived of teachers the transformational leadership style of primary school administrators to compare with size of schools were not significantly different at the .05 level in total aspect. Accept Intellectual stimulation was significantly different at the .05 level.
Publisher
สำนักวิทยบริการและเทคโนดลยีสารสนเทศ
Address: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Email: si_num42@hotmail.com
Role: ประธานกรรมการ
Role: กรรมการ
Role: กรรมการ
Date
Created: 2545
Modified: 2560-08-18
Issued: 2548-08-05
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
ISBN: 9743161228
Source
CallNumber: 371.201
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
RightsAccess:



Title
การพัฒนาหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำของคณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาลตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Title Alternative
Development Curriculum on Leadership Development Potentiality for Community Commitee at Tombon don sak, Admpher Donsak Suratthani Province

Classification :.DDC: 307
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหา และความต้องการของคณะกรรมการชุมชนพัฒนาในเขตเทศบาลตำบลดอนสัก เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม พัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำของคณะกรรมการชุมชนพัฒนาในเขตเทศบาลตำบลดอนสัก และเพื่อปฏิบัติการทดลอง ประเมินผล และปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฝึกอบรม พัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำของคณะกรรมการชุมชนพัฒนา ในเขตเทศบาลตำบลดอนสัก ที่ได้พัฒนาขึ้นโดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้น คือ ขั้นตอนที่ 1 ผลการวิจัยในการศึกษาปัญหา และความต้องการของคณะกรรมการชุมชนพัฒนาในเขตเทศบาลตำบลดอนสักจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยพบว่า คณะกรรมการชุมชนส่วนใหญ่มีวุฒิการศึกษาต่ำ ไม่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะด้านการวางแผนโครงการ และบุคลิกภาพด้านการพูด สำหรับผลการศึกษาข้อมูลจากภาคสนามพบว่า ปัญหาความเป็นภาวะผู้นำของคณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาลตำบลดอนสักเมื่อพิจารณารายด้านโดยรวมพบว่า ด้านภาวะผู้นำของคณะกรรมการชุมชนมีปัญหาอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนเนื้อหาในการฝึกอบรมต้องการพัฒนาด้านภาวะผู้นำของคณะกรรมการชุมชน การทำแผนและโครงการ และการบริหารพัฒนาเทศบาลตำบล เกณฑ์ความต้องการอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปานกลาง ขั้นตอนที่ 2 ในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม โดยได้นำข้อมูลพื้นฐานที่ได้จาก ขั้นตอนที่ 1 มากำหนดกรอบในการสร้างโครงร่างหลักสูตรประกอบด้วย (1) ปัญหาและความจำเป็นของหลักสูตรฝึกอบรม (2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตรฝึกอบรม (3) หน่วยของการอบรม และการตรวจโครงสร้างหลักสูตร นำโครงร่างหลักสูตรการฝึกอบรมฯไปตรวจสอบโดยผู้รอบรู้เฉพาะทาง จำนวน 5 คน พบว่า หลักสูตรการฝึกอบรมฯ ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด มีเพียงเนื้อหาด้านภาวะผู้นำท้องถิ่นเท่านั้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง และได้แก้ไขปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้รอบรู้เฉพาะทาง ขั้นตอนที่ 3 ในการทดลองและประเมินผล โดยได้นำหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ปฏิบัติการฝึกอบรมกับคณะกรรมการชุมชนจำนวน 99 คน มีการวัดก่อนและหลังปฏิบัติการฯ พบว่า ระดับความรู้ความเข้าใจ และเจตคติ หลังปฏิบัติการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม ส่วนด้านทักษะ ผู้เข้าร่วมประชุมปฏิบัติการมีระดับพฤติกรรมปฏิบัติได้ในเรื่องพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำของคณะกรรมการชุมชนพัฒนาในเขตเทศบาลตำบลดอนสัก ผู้สังเกตพฤติกรรมให้คะแนนในระดับมากทั้งหมด จำนวน 8 ประเด็น และเมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้านความรู้และเจตคติ พบว่า คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนปฏิบัติการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Publisher
Rajabhat Suratthani university
Address: SURAT THANI
Email: tippawan@sru.ac.th
Date
Created: 2008-06-10
Modified: 2551-06-10
Issued: 2551-06-10
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
Source
CallNumber: ว.พ.307 ป171ก
Language
tha
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
RightsAccess:


Title
ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดฉะเชิงเทรา

Organization : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
Classification :.DDC: 303.34
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูเกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดฉะเชิงเทรา ทั้ง 3 แบบ คือ 1. ผู้นำที่ยึดสถาบันเป็นหลัก 2. ผู้นำที่ยึดบุคคลเป็นหลัก 3. ผู้นำที่ยึดการประสานประโยชน์เป็นหลัก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยคน 2 กลุ่ม คือผู้บริหารสถานศึกษา 175 คน และครู 312 คน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม 2 ชุด ที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน เป็นแบบตรวจสอบรายการ และมาตราส่วนประมาณค่า ข้อมูลที่ได้รับคืนมา ได้วิเคราะห์โดยใช้สถิติเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารทั้ง 3 แบบ อยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร และครู พบว่า แบบผู้นำที่ยึดสถาบัน เป็นหลัก และแบบผู้นำที่ยึดการประสานประโยชน์เป็นหลัก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนแบบผู้นำที่ยึดบุคคลเป็นหลัก แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: ฉะเชิงเทรา
Email: wanchalee@rru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Role: กรรมการที่ปรึกษา
Date
Created: 2547
Modified: 2549-09-13
Issued: 2549-08-18
Type
วิทยานิพนธ์/Thesis
Format
application/pdf
ISBN: 9749684370
Source
CallNumber: Th 303.34 ส221ค
Language
tha
Coverage
Spatial: ไทย
Spatial: ฉะเชิงเทรา
Rights
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
RightsAccess:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น