วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เรื่องที่ 1 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน และพฤติกรรมการสอนของครู

การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย  เรื่อง    ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์ จังหวัดปทุมธานี  มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ          “ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์ จังหวัดปทุมธานี” โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดและทฤษฎีของ บาส และ อโวลิโอ (Bass & Avolio) ประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ประการ คือ  (1) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์หรือการสร้างบารมี (charismatic or idealized influence)  (2) การสร้างแรงบันดาลใจ (inspirational motivation) (3) การกระตุ้นการใช้ปัญญา (intellectual stimulation) และ (4) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (individualized consideration) และพฤติกรรมการสอนตามแนวคิดของรีบอร์ 4 ขั้นตอนคือ (1) การเตรียมการสอน (2) การสอน (3) การใช้สื่อการสอน และ (4) การประเมินผลการสอน เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) ศึกษาจากประชากรซึ่งเป็นครูโรงเรียนสุนทโรเมตาประชาสรรค์ จังหวัดปทุมธานี ที่มีอยู่จริงใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามภาวะผู้นำพหุองค์ประกอบ ฉบับ 5X  (Multifactor Leadership Questionnaire Form 5X Rater : MLQ 5X) สร้างโดย บาส และอโวลิโอ (Bass & Avolio)  ซึ่งผู้วิจัยพัฒนามาจากแบบสอบถามการวิจัย ของ ประเสริฐ  สมพงษ์ธรรม เพื่อวัดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง(Transformational Leadership) ของผู้บริหารโรงเรียน และแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการสอนของครู โดยปรับปรุงมาจากแบบประเมินการปฏิบัติการสอนของ รีบอร์ (Rebore) ขจรเดช เจริญพร และกิตติ  สุภานนทเดชากุล ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/FW (Statistical Package for the Social Science for Window) ในการประมวลผลข้อมูล และใช้สถิติโดยการหาความถี่ (frequency) ร้อยละ (percentage) การหาค่าเฉลี่ย (µ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Ó)  
ผลการวิจัยพบว่า
   1. ผู้บริหารโรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์ จังหวัดปทุมธานี มีภาวะผู้นำการ
เปลี่ยนแปลงโดยรวมและจำแนกเป็นรายด้านในระดับมาก      
  2. ครูโรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์มีพฤติกรรมการสอนโดยรวมและจำแนกเป็นรายด้านอยู่ในระดับดี 
ชื่อรายงาน            ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน
                           และพฤติกรรมการสอนของครูโรงเรียนสุนทโรเมตตา
                           ประชาสรรค์ จังหวัดปทุมธานี 
ชื่อผู้รายงาน         นางมยุรี  ทรัพย์บุญ
                           ผู้อำนวยการโรงเรียนบัวแก้วเกษร อำเภอลาดหลุมแก้ว
                           จังหวัดปทุมธานี 

 งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำ เรื่องที่ 2

การวิจัยและพัฒนาการนิเทศภายใน โดยภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและครู เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง

บทคัดย่อ
        การวิจัยและพัฒนาการนิเทศภายใน โดยภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและครู เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อพัฒนาการนิเทศภายในโดยภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง(2)   เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยม   วัดธาตุทอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ทำหน้าที่  ผู้นิเทศ จำนวน 12 คน ครูผู้รับการนิเทศ จำนวน 54 คน และนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง จำนวน 1,769 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของนักเรียนใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan (1970: 608) ค่าความเชื่อมั่น 95% มีความคลาดเคลื่อน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ (1) แบบสังเกตชั้นเรียน (2) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู (3) แบบประเมินตนเองของนักเรียนที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ (4) แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ปีการศึกษา 2548 กับ ปีการศึกษา 2549 และ (5) แบบบันทึกเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการประเมินรอบแรกและรอบสองของโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง 5± 
        สรุปผลการวิจัยพบว่า
     1. การพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทองโดยใช้ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่ทำหน้าที่ผู้นิเทศได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนของการบริหารคุณภาพวงจร Deming และพัฒนาการนิเทศภายใน ตามลำดับขั้นตอนของกระบวนการวิจัยปฏิบัติการ P-A-O-R รวม 2 วงรอบ โดยใช้รูปแบบการนิเทศภายในแบบควบคุมเชิงบริหาร ผสานกับรูปแบบการนิเทศภายในแบบคลินิก ผลการพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้พบว่า พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยพบว่า พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ภาคเรียนที่ 1 มีคุณภาพโดยรวมระดับปานกลางและพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ภาคเรียนที่ 2 มีคุณภาพโดยรวมระดับดี
      2.  ผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้จากการพัฒนาการนิเทศภายในโดยภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทองพบว่า (1) นักเรียนมีความคิดเห็นว่า ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ครูมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับมาก และนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยรวมในระดับมากที่สุด        พฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ  นักเรียนมีความรู้ชัดเจนเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของวิชาต่างๆ นักเรียนใส่ใจกับความรู้สึกของเพื่อนและโดยภาพรวมนักเรียนมีความสุขในการเรียน (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง ในปีการศึกษา 2549 สูงกว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษา 2548 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (3) ผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมของโรงเรียนมัธยมวัดธาตุทองพบว่า ผลการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในการประเมินรอบสอง มีคุณภาพโดยรวม ในระดับดีมากโดยพบว่า มาตรฐานที่ 9 ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร มีคุณภาพในระดับดี
       ข้อเสนอแนะทั่วไป    
  1. ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการบริหารงานนิเทศภายและสร้างความตระหนักความเข้าใจในบทบาทของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในงานนิเทศภายใน รวมทั้งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายใน          เพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีการรับรู้มีความเข้าใจที่ตรงกัน     
  2. หน่วยงานที่รับผิดชอบงานนิเทศภายในควรมีการจัดทำแผนพัฒนางานนิเทศภายในโรงเรียน   โดยกำหนดรูปแบบกระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ครูทุกคนได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและสามารถปฏิบัติงานนิเทศภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงาน  
  3. ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการใช้ภาวะผู้นำของ        ผู้นิเทศให้สัมพันธ์กับรูปแบบหรือกระบวนการนิเทศภายในและความต้องการของผู้รับการนิเทศ เพื่อให้ผู้นิเทศสามารถปฏิบัติงานเต็มตามศักยภาพและผู้รับการนิเทศมีความศรัทธาเชื่อมั่นพึงพอใจที่จะร่วมมือหรือปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของผู้นิเทศ    
  4. ควรมีการเผยแพร่รูปแบบวิธีดำเนินการและผลการพัฒนางานนิเทศภายใน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบของการจัดการความรู้ (Knowledge Management: K.M)
      ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป  
  1. ควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศภายในโดยรูปแบบการนิเทศภายในที่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำของผู้นิเทศ  
  2. ควรมีการวิจัยและพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้รูปแบบการนิเทศภายในที่หลากหลายและมีความเหมะสมกับสภาพของสถานศึกษา ภาวะผู้นำของผู้นิเทศและความต้องการของผู้รับการนิเทศ  
  3. ควรมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาภาวะผู้นำสำหรับผู้นิเทศภายในที่ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานนิเทศภายใน  
  4. ควรมีการศึกษาการใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียน   
บทความภาวะผู้นำ
การพัฒนาภาวะผู้นําในองคการด้วยE.Q. ปรัชญาชุมนาเสียว*
         สังคมในโลกยุคปัจจุบันและโลกแห่งอนาคตเป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การบริหาร เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะอยู่ภายใต้การเชื่อมโยงด้วยระบบข้อมูลข่าวสาร (information system) ที่ว่ากันว่าในโลกแห่งอนาคตจะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู (knowledge based society) ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายโดยข้อมูลข่าวสารที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อวิถีชีวิตของมนุษย องค์การถือไดว่าเป็นระบบย่อยในสังคมที่ควรจัดเตรียมความพร้อมเพื่อสร้างฐานแห่งความรูในการพัฒนาประเทศ องค์การไมว่าจะเป็นองค์การในภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือองค์กรอิสระก็ตาม ย่อมมีภาระหน้าที่ในกระบวนการบริหารจัดการ ซึ่งก็จะรวมถึงการสร้าง Knowledge based ในองค์การด้วย ภาวะผู้นํา (leadership) ในองค์การจึงจําเป็นต้องสร้างและพัฒนาผู้บริหารใหมีศักยภาพความสามารถในการเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลงเพื่อโน้มน้าวให้บุคลากรในองค์การสามารถทํางานร่วมกันไดอย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามผู้บริหารที่มีแตความฉลาดทางสติปัญญา (intelligent quotient) เพียงอย่างเดียวย่อมไม่สามารถบริหารงานภายใต้การเปลี่ยนแปลงให้ประสบความสําเร็จได หากขาดซึ่งความฉลาดทางอารมณ (emotional quotient) ที่ถือเป็นความสามารถในการจัดการอารมณ์ของตนเองเพื่อให้เข้าใจอารมณ์ของผู้อื่นในองค์การได้อย่างถูกต้องดังคํากล่าวของอริสโตเติ้ล ที่ว่า  “คนเราเกิดอารมณ์โกรธได้ง่าย  แต่การแสดงความโกรธให้เหมาะกับบุคคลในระดับที่พอดี ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อจุดมุ่งหมายที่เป็นประโยชน และด้วยวิธีที่ถูกต้องนั้น ไม่ใชสิ่งที่ง่ายเลย” ดังนั้นสิ่งที่สําคัญในการบริหารจัดการงานภายในองค์การ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงนี้ จึงควรที่จะมีการพัฒนาภาวะผู้นําในองค์การด้วย E.Q. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลให้กับองค์การต่อไป
* อาจารย คณะรัฐศาสตร นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย
         แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นํา (Leadership)การที่จะเป็นผู้นําที่ยิ่งใหญหรือเป็นผู้นําที่จะประสบความสําเร็จนั้นควรจะต้องมีความสามารถเชิงการบริหาร 3 ปัจจัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอันได้แก่ การบริหารตนเอง การบริหารคน และการบริหารงาน  โดยเฉพาะในเรื่องการบริหารตน  เป็นสิ่งสําคัญที่สุดที่ผู้บริหารจําเป็นต้องมีและสามารถสร้างภาวะผู้นําพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาให้เป็นผู้นําที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างสง่างาม ดังนั้นภาวะผู้นํา (leadership) ของผู้บริหารองค์การในทุกระดับจึงเป็นสิ่งจําเป็นที่ต้องเร่งสร้างให้เกิดขึ้นควบคู่กับการพัฒนาองค์การ เพื่อนํามาโน้มน้าวให้บุคลากรในองคการทํางานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์การที่มีขนาดใหญ มีความสลับซับซ้อนในการบริหารจัดการงานมีมาก ผู้บริหารในองค้การจะใชความรูเฉพาะด้านหรือใช้องค์ความรู้ทางด้านการบริหารอย่างเดียวไม่เพียงพอดังนั้นการบริหารองค์การให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างน่าภาคภูมิใจนั้น ผู้บริหารควรจะต้องใช ศาสตร ซึ่งก็คือการประยุกตองค์ความรูไปใชในการบริหารงานได้อย่างถูกต้อง ควบคูกับการใช ศิลป ซึ่งในบทความนี้จะหมายถึง ภาวะผู้นํา กับ การพัฒนาความฉลาดทางอารมณของผู้บริหาร โดยทั้งศาสตรและศิลปจะเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์สําหรับผู้บริหารองค์การ  ภายใต้ความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันผู้นํา (leader)  หรือภาวะผู้นํา (leadership) ส่วนสําคัญจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ตัวผู้นําและการปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ของผู้นําในฐานะเป็นผู้ใช้อิทธิพล (influence) เพื่อเป็นมรรควิธีใหบังเกิดอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้อยู้ใต้อิทธิพล (influence) หรือผู้ตาม (follower) ในสถานการณต่าง ๆ กัน ผู้นําหรือผู้บริหารในองคการมีฐานะเป็นผู้ใชอิทธิพล และ/หรืออํานาจที่จะปฏิบัติใหบังเกิดความร่วมมือ ประสานงานกัน เพื่อใหงานบรรลุวัตถุประสงค โดยเฉพาะในการบริหารงานนั้น  การใช้อํานาจหน้าที่เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานนั้นมีอยู่เป็นอันมาก หากใช้อํานาจไปในทางไมสุจริต และไม่เป็นประโยชนต่อส่วนรวมแล้วก็ย่อมนําความเสื่อมเสียมาสู่องค์การได้อย่างง่ายดาย  
(สมพงษ เกษมสิน, 2514, หน้า 35)
         ความหมายของภาวะผู้นํา (leadership)   มีนักวิชาการและนักทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับ ผู้นําในองค์การได้ให้ความหมายของผู้นําและภาวะผู้นําไวต่างๆมากมายหลากหลายทรรศนะ   แต่ในบทความนี้จะขอสรุปความหมายของภาวะผู้นําตามความเข้าใจของ     ผู้เขียนไว้ว่า ภาวะผู้นํา หมายถึง กระบวนการในการใชศิลปะหรือความสามารถของบุคคลหนึ่ง  หรือใช้อิทธิพลตามอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้นําที่สามารถ     โน้มน้าวจูงใจใหบุคคลอื่นได้แสดงพฤติกรรมออกมาตามที่ตนเองต้องการ โดยผ่านกระบวนการติดต่อสื่อสารเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงคและเป้าหมายขององคการที่กําหนดไวได้อย่างเหมาะสม โดยปกติแล้วในการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นผู้นําหรือภาวะผู้นําในองค์การ  ได้มีการวิเคราะหแบบของผู้นําอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผู้เขียนพอจะสรุปและแบ่งประเภทของผู้นําตามลักษณะที่เป็นในเชิงลักษณะและพฤติกรรมต่าง ๆ ได 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่1 ผู้นําตามลักษณะผู้นํา (Trait Theory of Leadership)
          กลุ่มผู้นําตามคุณลักษณะผู้นํานี้ ให้ความสําคัญกับคุณลักษณะเฉพาะตัวในการเป็นผู้นําเป็นหลัก ทั้งทางด้านกายภาพ บุคลิกภาพ และจิตใจของผู้นํา โดยมองว่าคนที่เป็นผู้นํานั้นจะเป็นคนที่มีบุคลิกพิเศษแตกต่างไปจากบุคคลธรรมดาทั่วไป เช่นมีความเฉลียวฉลาด มีอํานาจ มีความทะเยอทะยาน ที่เหนือกว่าคนอื่นๆโดยทั่วไป ในระยะแรกเชื่อกันว่าลักษณะพิเศษเหล่านี้ติดตัวมาแต่กําเนิด แต่ต่อมาเชื่อว่าบุคลิกลักษณะของคนส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเรียนรูจึงสามารถสร้างและพัฒนาได ซึ่ง Stogdill (1974, pp. 74-75) ไดกล่าวถึงคุณลักษณะ 6 ประการ ของผู้นํากลุ่มนี้ไว้อย่างน่าสนใจ คือ
  1. คุณลักษณะทางกายภาพ (physical characteristics) ไดแก่การพิจารณาลักษณะของผู้นําจากบุคลิก (physical) อายุ ลักษณะ ท่าทาง ส่วนสูง และน้ำหนัก เป็นต้น
  2. ภูมิหลังทางสังคม (social background) ได้แก การพิจารณาจากภูมิหลังทางเศรษฐกิจสังคมของผู้นํา (social economic background) โดยเน้นในปัจจัยด้านการศึกษา สถานภาพทางสังคม และการเขยิบฐานะทางสังคมเป็นต้น
  3. สติปัญญา ความรู ความสามารถ (intelligence) ได้แก การพิจารณาภาวะผู้นําจากสติปัญญา หรือความเฉลียวฉลาด การมีปฏิภาณไหวพริบ (intellectual) ความรู ความสามารถกับสถานภาพความเป็นผู้นํา เป็นต้น
  4. บุคลิกภาพ (personality) ได้แก การพิจารณาตรวจสอบปัจจัยทางด้านบุคลิกภาพ โดยได้เสนอแนะว่า ผู้นําที่มีประสิทธิภาพมักจะมีบุคลิกภาพที่แสดงถึงความเชื่อมั่น ในตนเอง เป็นต้น
  5. ลักษณะที่เกี่ยวกับงาน (task-related characteristics) ได้แก การพิจารณาผู้นําในลักษณะที่มีความต้องการสําเร็จ มีความรับผิดชอบสูง อุทิศตนเองให้กับงานอย่างเต็มที่ (task orientation) และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค เป็นต้น
  6. ลักษณะต่าง ๆ ทางสังคม (social characteristics) ได้แก การพิจารณาผู้นําในลักษณะที่ต้องการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างกระตือรือร้น มีทักษะทางสังคมที่ดี (social skill) เป็นผู้ที่ชอบการติดต่อพบปะสังสรรคกับบุคคลอื่น และใหความร่วมมือกับบุคคลต่าง ๆ ดี เป็นต้น
กลุ่มที่2 ผู้นําตามพฤติกรรมผู้นํา (Personal Behavior Theory of Leadership)
          กลุ่มผู้นําตามพฤติกรรมผู้นํานี้ จะเน้นพฤติกรรมของผู้นําเป็นสําคัญ โดยมองว่าพฤติกรรมผู้นําเป็นตัวบ่งชี้ใหเห็นว่าผู้นําคนนั้นๆมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการเป็นผู้นํามากน้อยเพียงใด โดยพฤติกรรมของผู้นําจะเกี่ยวข้องกับ 3 เรื่องสําคัญคือ  มุ่งงาน  มุ่งคน และ เข้าใจสถานการณและรู้จักปรับบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม  ซึ่งสามารถแบงประเภทของกลุ่มนี้ออกเป็น  พฤติกรรมของผู้นําจากการได้มาโดยอํานาจวิธีการใช้  อํานาจของผู้นํา และผู้นําตามความสามารถไดดังนี้
         1. พิจารณาจากพฤติกรรมของผู้นําจากการได้มาโดยอํานาจ ซึ่งสามารถแบ่ง พฤติกรรมของผู้นําแบบนี้ออกเป็น 3 แบบ (กวี วงศพุฒ, 2535, หนา 23) คือ
            1.1 ผู้นําแบบใชพระเดช (legalistic leader) เป็นผู้นําที่ได้อํานาจตามกฎหมาย มักใชอํานาจที่ตนมีอยูทําทุกอย่างที่ตนพอใจ ไม่มีการยืดหยุ่น ยึดกฎระเบียบมาก
            1.2 ผู้นําแบบใชพระคุณ  (charismatic leader) เป็นผู้นําที่มิได้ใช้อํานาจที่ตนมีอยู่เป็นเครื่องมือในการบริหาร แตจะใชศิลปะการเป็นผู้นํา โดยสร้างบารมี และสร้างศรัทธาจากผู้ใต้บังคับบัญชาขึ้นมาเอง ซึ่งจะมีผลผลักดันใหผู้ปฏิบัติงาน ทํางานด้วย ความเต็มใจ การทํางานในองค์การก็จะมีประสิทธิภาพ
            1.3 ผู้นําแบบสัญญาลักษณหรือแบบพ่อพระ (symbolic leader) เป็นผู้นําที่ลูกน้องยกย่องเคารพนับถือตามตําแหน่งที่ได้รับ และเห็นว่าเป็นแบบอย่างแก่ลูกน้องได้ผู้นําแบบนี้มักถูกเชิญเป็นประธานในที่ประชุม หรือเป็นสัญลักษณในการเปีด-ปีดงานต่างๆ เป็นต้น
        2. พิจารณาจากวิธีการใช้อํานาจของผู้นํา ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของ Lippitt and White (อ้างใน สุพิณ เกชาคุปต, 2537, หน้า 149) ได้แบ่งพฤติกรรมของผู้นําแบบนี้ออกเป็น 3 แบบ คือ
            2.1 ผู้นําแบบเผด็จการหรือแบบอัตตาธิปไตย (authoritarian/dictation leader) ผู้นําแบบนี้จะตัดสินใจเพียงคนเดียวและจะแจ้งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทราบ ผู้นําต้องการความเชื่อฟัง และปฏิบัติตามโดยทันทีจากผู้ใต้บังคับบัญชา การมอบหมายงานจะมีนอยมาก ผู้นําจะคอยควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด และจะเป็นผู้กําหนดเป้าหมายและวิธีการเพื่อความสําเร็จของเป้าหมาย ลักษณะผู้นําแบบนี้จะมีลักษณะแบบข้าเก่ง  คนเดียว ความคิดของผู้นําต้องถูกต้องเสมอ หรือแบบโทษของผู้อื่นเท่าภูเขา โทษของเราเท่าเส้นผม เป็นต้น
           2.2 ผู้นําแบบเสรีนิยมหรือปล่อยตามสบาย (laissez faire leader) ผู้นําประเภทนี้จะใหคําแนะนําโดยทั่ว ๆ ไปว่าจะต้องทําอะไร แล้วปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชากําหนดแนวทางปฏิบัติเอง ผู้นําจะมีบทบาทในลักษณะสมาชิกคนหนึ่งภายในกลุ่มจะไม่ใช้อํานาจตัดสินใจใด ๆ ลักษณะผู้นําแบบนี้ผู้นําจะอยู่ไปวันๆหนึ่งเท่านั้น การทํางานในองค์การจะขาดประสิทธิภาพ ซึ่งจัดได้ว่าเป็นผู้นําแบบงานไม่สนคนไม่สร้าง เป็นต้น
           2.3 ผู้นําแบบประชาธิปไตย (democratic leader) ผู้นําประเภทนี้จะยอมให้กลุ่มของ   ผู้ใต้บังคับบัญชาเข้ามามีส่วนร่วมกําหนดเป้าหมายและวิธีการที่จะนํามาใชเพื่อความสําเร็จของเป้าหมาย ผู้นําเชื่อว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะให้ความสนับสนุนการตัดสินใจที่เกิดจากการที่พวกตนมีส่วนร่วมเป็นแบบผู้นําที่ดีที่สุด ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ยึดถือความคิดเห็นของกลุ่มเหนือความคิดเห็นของตน ลักษณะของผู้นําแบบนี้จะมีลักษณะการบริหาร (กิติ ตยัคคานนท, 2532, หนา 28-29) ดังนี้
               - เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ใช้ความคิด มีความคิดสร้างสรรค แสดงความคิดเห็น และเลือกวิธีปฏิบัติงานของตนเอง
               - จัดสรรแบ่งงานและมอบหมายหน้าที่การงานให้ผู้ใตบังคับบัญชา รับผิดชอบดําเนินการตามความเหมาะสมของแต่ละคน แต่ละหน้าที่
               - ให้คําแนะนําแก่ผู้ร่วมงานและรับฟังความคิดเห็นกับคําปรึกษาหารือจากผู้ใต้บังคับบัญชาทําใหเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้นําและผู้ร่วมงาน เกิดความร่วมมือประสานงานกัน
         3. พิจารณาจากประเภทของผู้นําตามระดับความสามารถ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของ  ผู้นําออกเป็น 4 ประเภท (สมพิศ สุขแสน, มปป.,หน้า 3) ดังนี้
            3.1 ผู้นําที่มีความสามารถสูงแตสัมพันธภาพกับผู้อื่นต่ำ ผู้นําแบบนี้จะเน้นผลผลิต (Output) ของงานมาก เป้าหมายอยูที่งานละเลยหรือไม่ให้ความสําคัญกับผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นําแบบนี้อาจเรียกว่า คนไม่ยุ่ง มุ่งแต่งาน
            3.2 ผู้นําที่มีความสามารถต่ำแตสัมพันธภาพกับผู้อื่นสูง ผู้นําแบบนี้จะเน้นการมีมนุษยสัมพันธกับทุกคนในองค์การมาก ทํางานร่วมกับผู้อื่นได ประนีประนอมทุกเรื่อง มีความเป็นกันเอง ไม่กล้าขัดขวางหรือท้วงติงการกระทําใด ๆ ของผู้ร่วมงาน หรือผู้ใต้บังคับบัญชาในกรณีที่กระทําผิดวินัย หรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เพราะกลัวเสียสัมพันธภาพ ดังนั้นการทํางานจึงขาดประสิทธิภาพ ไม่ยึดกฎระเบียบเท่าที่ควร ขาดความเด็ดขาดในการตัดสินใจ ผู้นําแบบนี้อาจเรียกว่า งานไม่ยุ่ง มุ่งแต่คน
            3.3 ผู้นําที่มีความสามารถต่ำและสัมพันธภาพกับผู้อื่นต่ำ ผู้นําแบบนี้จะบริหารงานโดย ไม่ยึดกฎระเบียบมากนัก มีความรับผิดชอบต่องานน้อย ขาดความเด็ดขาดในการตัดสินใจ ประสิทธิภาพของงานในองค์การจึงต่ำ ในขณะเดียวกันผู้นําก็จะไม่สนใจเรื่องมนุษยสัมพันธในองค์การ ขาดความสนใจผู้ใต้บังคับบัญชาไม่ให้ขวัญกําลังใจ เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาทํางานบรรลุผลสําเร็จ และมักสร้างความขัดแย้งขึ้นในองค์การ ผู้นําแบบนี้มักขาดความรักและความศรัทธาอย่างจริงใจจากผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งผู้นําแบบนี้อาจเรียกว่า งานไม่สน คนไม่สร้าง
            3.4 ผู้นําที่มีความสามารถสูงและสัมพันธภาพกับผู้อื่นสูง ผู้นําแบบนี้จะมีพฤติกรรมในการทํางานที่ดี มีความรับผิดชองต่องานสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค พัฒนางานในองค์การตลอดเวลา ตัดสินใจรวดเร็ว และถูกต้องเน้นผลผลิต (output) ของงานมาก และในขณะเดียวกันก็ใหความสําคัญกับเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา โดยใหความสนใจ การยอมรับความเป็นกันเอง การยกย่องให้เกียรติอย่างสม่ำเสมอและจริงใจ ผู้นําประเภทนี้อาจเรียกว่า งานก็สน คนก็สร้าง
กลุ่มที่ 3 ผู้นําตามสถานการณ (Situational Theory of Leadership)
         สถานการณและเวลาเป็นตัวกําหนดทําให้เกิดสภาวะการณ์เป็นผู้นําขึ้น การเป็นผู้นํา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เป็นอยู สถานการณ์ที่แตกต่างกันย่อมต้องการแบบภาวะผู้นําที่ ต่างกัน ดังนั้นผู้นําแบบใดแบบหนึ่งจึงไม่อาจเหมาะสมในทุกสถานการณ์ได แต่จะเหมาะสมในบางสถานการณเท่านั้น Barnard (1962, pp. 92-102) ไดเสนอว่า    คุณสมบัติผู้นําที่สามารถปรับตัวเองให้เข้าได้กับทุกสถานการณ์ไดคือ มีความสามารถในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและถูกต้อง การจูงใจคน มีความรับผิดชอบ และมีความฉลาด มีไหวพริบ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่หาได้ยาก เนื่องจากสถานการณและสิ่งแวดล้อม ย่อมมีไม่เหมือนกัน ผู้นําที่ดีจะต้องศึกษาสถานการณต่าง ๆ ให้ถ่องแท และต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ด้วย แต่ทั้งนี้ต้องไม่ผิดหลักการและปรัชญาขององค์การ  ดังนั้น การปรับตัวของผู้นําให้เข้ากับสถานการณจึงเป็นลักษณะของผู้นําที่ดี
         จากลักษณะและพฤติกรรมของผู้นําทั้ง 3 กลุ่มที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังไม่เป็นการเพียงพอ ต่อการบริหารจัดการงานในโลกยุคโลกาภิวัตนที่นับวันจะยิ่งทวีความสลับซับซ้อนและมีความชุลมุนวุ่นวาย ตลอดจนมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย ผู้นําหรือภาวะผู้นําแห่งโลกในอนาคตควรจะต้องเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง (change leadership) โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปสูความคิดสร้างสรรคแบบใหม ความคิดที่ออกนอกกรอบ หรือกฎเกณฑเดิม ๆ เพื่อบริหารงานใหเกิดความก้าวหน้า การเป็นผู้นําที่ดีต้องรู้จักพูดสั่งงาน หรือโน้มน้าวจิตใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ร่วมมือ และเต็มใจในการทํางาน การบริหารควรยึดความจริงมากกว่าความรู้สึก มีความสามารถในการสื่อสารใชแรงจูงใจในการบริหารงาน อีกทั้งผู้นําจําเป็นต้องไวต่อการรับรูการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นไดตลอดเวลา โดยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวไปสู
  1. ต้องเป็นผู้ที่มีความรู ความเข้าใจสถานการณทั่วไปของโลกและประเทศ
  2. ต้องเป็นผู้ที่รอบรู และทัศนคติที่ดีต่องานในองค์กร
  3. สามารถทํางานร่วมกับผู้บริหารสูงสุดขององค์กรได้ดี
  4. สามารถดําเนินงานร่วมกับทีมงานการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. เป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงานในองค์กร
  6. มีความคิดสร้างสรรคในการพัฒนาองค์กรให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
  7. มีความกระตือรือร้นเอาใจใส มุ่งมั่น และอดทนในการปฏิบัติงาน
  8. มีความยืดหยุ่นและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว
        ลักษณะของ CCO (Chief Change Officer) ที่ดีนั้น เป็นสิ่งจําเป็นต่อการบริหารงานใน ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงในองค์การจะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้บังคับบัญชา และบุคคลระดับต่าง ๆ ในองค์การ ความก้าวหน้าและความเสื่อมถอยขององค์การ จะต้อง ขึ้นอยู่กับฝีมือในการบริหารงานแบบองค์รวมของผู้บริหารที่จะต้องคํานึงถึง (1) การบริหารความเปลี่ยนแปลง (change management) (2) การบริหารงาน (task management) (3) การบริหารคน (people management)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น